เปิดตำนานที่มาของเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และต้นกำเนิดของเกาะอื่นๆ ในประเทศไทย

เรื่องทั้งหมดที่จะมาเผยแพร่ในต่อจากนี้ จัดเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติมาก เพราะเป็นสถานที่ที่มีความสวยงาม อุดมสมบูรณ์ของโลกใต้ท้องทะเล น้ำใส หาดทรายขาวละเอียด ปะการังที่หลากหลายสีสัน มากมายหลายประเภท กับปลาน้อยใหญ่มากมาย ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวที่มาที่นี้ เกาะทะลุ ต้องมีความสุขมากแน่นอน

นอกเหนือจากความสวยงามและความสนุกนั้น เกาะทะลุ ยังเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกด้วย เพราะจะมีกิจกรรมปลูกปะการังคืนความสมดุลกลับคืนสู่ธรรมชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของไทย ทั้งยังมีศูนย์เพาะพันธ์เต่าทะเลให้กลับสู่ธรรมชาติอีกด้วย ทำให้การมาเที่ยวที่นี่นั้น จะไม่ได้รับเพียงความสุข ความสวยงาม หรือบรรยากาศที่ดีเท่านั้น แต่จะสร้างความภาคภูมิใจต่อนักท่องเที่ยวกลับไปอีกด้วย

ตำนานความเชื่อประจำจังหวัด

เกาะทะลุ จัดเป็นหนึ่งสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวสนใจมาก ด้วยความมีเอกลักษณ์และตำนานความเชื่อแต่โบราณที่เล่าสู่กันฟังรุ่นสู่รุ่น ทำให้กลายเป็นความเชื่อของที่มาของเกาะทะลุ และเกาะอื่นๆ ในประเทศไทย ที่คนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่างทราบกันดี โดยมีเนื้อความว่า

kohtalu-island

ครั้งหนึ่งเมื่อนานมากแล้วที่เกาะทะลุ จะมีครอบครัวหนึ่งพักอาศัยอยู่ ณ อ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งครอบครัวนี้จะกินอยู่กันเพียง 3 คนเท่านั้น นั่นได้แก่ ผู้เป็นพ่อที่ชื่อ “ตาม่องล่าย” มีภรรยาชื่อ “นางรำพึง” และลูกสาว “ยมโดย” ว่ากันว่าลูกสาวบ้านนี้นั้นมีความงามยิ่งนัก ทำให้มีหนุ่มๆ ต่างหมายปองเธอ โดยความงดงามของเธอเลื่องลือไปทั้งใกล้และไกล ไปจนถึงเมืองเพชรบุรี ทำให้เจ้าลาย ผู้เป็นลูกชายของเจ้าเมืองเพชรสนใจ จึงปลอมตัวเข้ามาเป็นชาวเล เพื่อหวังได้พบตัวนางยมโดย แล้วเกิดความรู้สึกดีๆ รักใคร่ต่อกัน จึงตัดสินใจที่จะมาสู่ขอแต่งงานกับเธอ โดยเข้ามาทำการสู่ขอกับผู้เป็นแม่ของนาง นางรำพึง ซึ่งการสู่ขอก็ผ่านไปโดยที่นางรำพึงนั้นไม่ได้บอกกล่าวกับตาม่องล่ายเลย ทำให้ผู้เป็นพ่อไม่รู้ ในขณะเดียวกันตาม่องล่ายก็ได้เดินทางออกหาปลาแถวอ่าวบางสะพาน จึงได้พบกับกองเรื่อสำเภาค้าขายจากประเทศจีน จึงได้ชักชวนให้มาเที่ยวที่บ้านของตน พอลูกชายเจ้ากรุงจีนได้พบกับลูกสาวตาม่องล่าย ก็เกิดอาการชอบเป็นทันที จึงขอสู่ขอนางยมโดยกับตาม่องล่าย โดยที่ตาม่องลายก็ไม่ได้บอกกับผู้เป็นแม่ให้รู้ เมื่อถึงวันเวลานัดหมายแต่งงาน ทางขบวนขันหมากของเจ้าลายและลูกชายเจ้ากรุงจีนก็ยกมาที่บ้านของนางยมโดยในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้น เมื่อตาม่องล่ายและนางรำพึงต่างต้องการคนที่ตนเองเลือกไว้ให้มาเป็นสามีต่อลูกสาวของตน เมื่อตกลงกันไม่ได้ ทั้งคู่ไม่ยอมกันและกัน ก็เกิดการทะเลาะวิวาทครั้งใหญ่ ยายรำพึงซึ่งมีอารมณ์ร้อน จึงคว้าหมวกปาใส่ตาม่องล่าย หมวกจนตกลงกลายเป็นเกาะหมวก แล้วคว้ากระบุงขว้างใส่ไปอีกครั้ง จนเกิดเป็นเกาะกระบุง ตาม่องล่ายผู้เป็นฝ่ายถูกทำร้ายก่อน จึงโมโหอย่างหนัก คว้าสากตำข้าวปาใส่นางรำพึงคืนไปบ้าง แต่ไม่ถูกนางรำพึง สากที่ปาไปนั้นจึงลอยไปปะทะกับหัวเกาะแห่งหนึ่ง ที่ทอดตัวขวางอ่าวบางสะพานอยู่ ทำให้เกาะนั้นมีชื่อว่าเกาะทะลุในปัจจุบัน เพราะมีรูทะลุขนาดใหญ่ที่เกิดจากแรงปะทะของสาก ซึ่งสากอันนั้นก็ลอยไปตกเป็นเกาะสาก แต่ในขณะที่สากรอยไปปะทะกับเกาะทะลุอยู่นั้น บังเอิญมีกระจงผู้เคราะห์ร้ายตัวหนึ่งที่กำลังหากินอยู่ใกล้ๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่าความตายกำลังมาถึง โดยแรงปะทะของสากอย่างจังทำให้หัวขาด และหัวลอยไปตกที่ชุมพร เกิดเป็นเกาะหัวกระจง ในขณะเดียวกันไส้ของเจ้ากระจงตัวนั้นก็ลอยไปตกเป็นเกาะไส้กระจงในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หลังจากนั้นทั้งตาม่องล่ายและนางรำพึงก็วิวาททุบตีกันยกใหญ่ นางรำพึงซึ่งเป็นเพศหญิงสู้แรงเพศชายไม่ได้ จึงวิ่งหนีและตาย กลายเป็นเขาแม่รำพึงที่นอนพิทักษ์อ่าวแม่รำพึงตั้งแต่ครั้งนั้นมา เมื่อเมียตายเสียแล้ว ตาม่องล่ายจึงเกิดอาการคุ้มคลั่ง คุมสติไม่อยู่ เข้าไปจับร่างลูกสาวมาฉีกเป็นสองซีก ซึ่งซีกหนึ่งโดยให้กับเจ้าลายจนกลายมาเป็นเกาะนมสาวที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนอีกซีกหนึ่งก็โดยให้กับลูกชายเจ้ากรงจีนกลายมาเป็นเกาะนมสาวที่จังหวัดชลบุรี จากนั้นต่อมาเจ้าลายผู้สูญเสียคนที่ตนรักไป ก็เสียใจอย่างหนักยกขบวนขันหมากกลับเพชรบุรีทันที โดยโดยทิ้งแก้วแหวนเงินทองต่างๆ ที่จะนำมาเป็นของหมั่นทิ้งกลายเป็น เขาหัวแก้วหัวแหวน เขาเพชร เขาพลอย และเจ้าลายก็ตายด้วยความเสียใจกลายเป็นเขาเจ้าลายอยู่ที่เพชรบุรี ด้านลูกชายเจ้ากรุงจีนก็เสียใจมากเช่นกัน ทำให้ขว้างข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวกระจกส่องหน้าทิ้ง กลายเป็นเขาช่องกระจก ตะเกียบที่เคยใช้กินข้าวก็ขว้างทิ้งกลายเป็นเขาตะเกียบ พวกเบี้ยเงินทองต่างๆ ที่ยกมาเป็นของหมั่นก็ทิ้งกระจัดกระจายไปหมด จนกลายมาเป็นเกาะเล็ก เกาะน้อย เกาะสิงห์ เกาะสังข์ อย่างปัจจุบัน จากนั้นตาม่องลายจึงตรอมใจตายกลายมาเป็นเขาตาม่องลายจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

และทั้งหมดนี้คือตำนานความเชื่อของต้นกำเนิดต่างๆ ของเกาะในประเทศไทย ทั้งยังเป็นที่มาของเกาะทะลุที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์แถวอ่าวไทยในปัจจุบันอีกด้วย